เป็นวัดขนาดกลาง โดยบริเวณรอบวัดมีอุทกสีมา ที่เป็นคูน้ำล้อมรอบ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่จากศิลปะและโบราณสถานที่ปรากฏ เป็นรูปแบบศิลปะใน ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นช่วงสูงสุดของงานศิลปกรรมของอาณาจักรสุโขทัย
โบราณสถานสำคัญภายในวัดตระพังทองหลาง คือ มณฑป ที่อยู่ด้านหลังพระวิหารโถง ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อเนื่องกัน เป็นที่ประดิษฐานพระประธานภายในวัด มณฑปนี้ทำหน้าที่แทนเจดีย์ประธาน สร้างในผังรูปสี่เหลี่ยม ก่ออิฐถือปูน ผนังทั้งสามด้านนั้นมีรูปปูนปั้นนูนสูงอยู่ภายในซุ้มของผนังของแต่ละด้าน ซึ่งเป็น เรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติ ประกอบไปด้วย ตอนพระพุทธเจ้าปราบช้างธนปาลหัตถีนาฬาคีรี ตอนเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนาโปรดพระญาติศากยวงศ์
อยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง เยื้องกับวัดช้างล้อม วัดนี้มีมณฑปขนาดกลางที่มีสัดส่วนงดงามที่สุด ด้านหน้ามณฑปมีฐานวิหารเสาศิลาแลง สิ่งที่น่าชมของวัดตระพังทองหลางคือ ศิลปกรรมปูนปั้นบนผนังทั้งสามด้านของมณฑปรูปสี่เหลี่ยม มณฑปด้านทิศตะวันออกเป็นซุ้มประตู อีกสามด้านเป็นผนังที่ประดับด้วยรูปปูนปั้นที่ชำรุดเกือบหมดแล้ว เป็นเรื่องตามพุทธประวัติ ดังนี้
ผนังด้านเหนือ เป็นภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าทรมานช้างชื่อนาฬาคีรี โดยปั้นเป็นรูปพระพุทธองค์ประทับยืนเคียงข้างด้วยพระอัครสาวก คือ พระอานนท์ ที่ปลายพระบาทของพระพุทธเจ้ามีร่องรอยปูนปั้นรูปหัวเข่าช้างคุกเข่ายอมแพ้
ผนังด้านใต้ เป็นภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์ พระพรหม และทวยเทพตามเสด็จมาส่ง ปัจจุบันภาพพิมพ์ที่ถอดจากภาพปูนปั้นนี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหง
ผนังด้านตะวันตก เป็นภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าประทานเทศนาโปรดพระบิดากับกษัตริย์ศากยวงศ์ ขณะทรงสั่งสอนทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ เป็นรูปรัศมีเปลวไฟล้อมรอบพระพุทธองค์ และมีรูปบรรดาพระญาติแวดล้อมอยู่ภายนอกรูปรัศมีนั้น
ภาพปูนปั้นเหล่านี้แสดงถึงลักษณะศิลปกรรมสมัยสุโขทัยที่เจริญสูงสุด หรือที่เรียกว่า ยุคทองของศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งมีอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 20
คือ มณฑปและรูปปูนปั้นซึ่งเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ
ปัจจุบันวัดตระพังทองหลางเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เนื่องด้วยตั้งอยู่ในพื้นที่ๆ ผู้คนไม่ค่อยได้ผ่านมากันมากนักเนื่องจากอยู่ในซอยตัน ทางวัดจึงขาดปัจจัยบ้างในการบำรุงรักษาวัด นักท่องเที่ยวและผู้ที่มาไหว้พระ สามารถร่วมบุญได้ที่ท่านเจ้าอาวาส เพื่อช่วยบำรุงรักษาวัดให้คงอยู่กันต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น