วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

วัดพระพายหลวง


ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ วัดนี้มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น มีปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ทำด้วยศิลาแลง แบบศิลปะลพบุรี ยังคงเห็นลายปูนปั้นที่ปรางค์ด้านทิศเหนือ ด้านหน้าปรางค์มีฐานวิหารเจดีย์ที่ปรักหักพัง ทางด้านประติมากรรม มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางต่างๆ เช่น นั่ง ยืน เดิน นอน ซึ่งส่วนใหญ่ชำรุดแล้วประดิษฐานที่มณฑปและซุ้มเจดีย์






      ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ ก่อสร้างก่อนการตั้งเมืองสุโขทัย มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ เพราะมีรูปแบบศิลปกรรมตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของสุโขทัย และมีการสร้างเพิ่มเติมในสมัยสุโขทัยตอนปลาย วัดพระพายหลวงจึงเป็นแหล่งรวมงานศิลปกรรมหลายยุคหลายสมัย ผังบริเวณวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียก คูแม่โจน มีปรางค์ศิลาแลง 3 องค์เป็นประธานของวัด องค์กลางและองค์ด้านทิศใต้พังเหลือแต่ฐาน เหลือเพียงองค์ด้านเหนือ หน้าบันประดับลายปูนปั้นเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยตอนต้นที่งดงามมาก สันนิษฐานว่าสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศิลปะขอมสมัยบายน (รัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7) บริเวณหน้าปรางค์มีวิหารที่เหลือเพียงเสาใหญ่ศิลาแลง ถาวรวัตถุที่สร้างเสริมต่อขยายออกไปทางด้านหน้าของพระปรางค์สามองค์ เช่น เจดีย์เหลี่ยมที่เหลือเพียงยอดปรักหักพัง และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบท ได้แก่ นั่ง ยืน เดิน และนอน ปัจจุบันปรักหักพังลงเกือบหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น