อยู่ใกล้วัดพระพายหลวงบริเวณแนวคูเมืองเก่าที่เรียกว่า "แม่โจน" เป็นเตาเผาถ้วยชามสมัยสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ค้นพบเตาโดยรอบ 49 เตา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บริเวณคันคูแม่น้ำโจนด้านทิศเหนือ 37 เตา ด้านทิศใต้ข้างกำแพงเมือง 9 เตา และด้านทิศตะวันออก 3 เตา เตาเผาเครื่องสังคโลก มีลักษณะคล้ายประทุนเกวียน ขนาดกว้าง 1.50-2.00 เมตร ยาว 4.5 เมตร เครื่องปั้นดินเผาที่พบบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นประเภทถ้วยชามมีขนาดใหญ่ น้ำยาเคลือบขุ่นสีเทาแกมเหลือง มีลายเขียนสีดำ ส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกไม้ ปลา
เครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (สังคโลก) อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19-22 มีแหล่งเตาเผาที่พบแล้ว 2 แห่ง ได้แก่
1. แหล่งเตาเผาที่อำเภอเมืองสุโขทัย
แหล่งเตาเผานี้อยู่บริเวณใกล้ลำน้ำโจน ผลิตเครื่องถ้วยชนิดที่มีการเขียนลายสีดำใต้เคลือบ และประเภทเคลือบสีขาว ลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ คือ มีเนื้อดินที่หยาบ สีเทาดำ บางครั้ง ออกสีน้ำตาล
2. แหล่งเตาเผาที่อำเภอศรีสัชนาลัย(สวรรคโลกเก่า)
แหล่งเตาเผานี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม นอกเมืองศรีสัชนาลัย เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งนี้ มีทั้ง ชนิดเคลือบและไม่เคลือบ ชนิดที่เคลือบยังแยกได้เป็น เคลือบสีขาว เคลือบสีน้ำตาล เคลือบสีเขียว เคลือบสองสี และเขียนลายสีตำใต้เคลือบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น