ตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่า ทำนบนี้เป็นเขื่อนดิน (คันดิน) สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาระหว่าง เขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายมา เพื่อกักน้ำและชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมืองและพระราชวังในสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันกรมชลประทานได้ปรับปรุงบูรณะและซ่อมแซมขึ้นใหม่ให้มีความสูงและแข็งแรงกว่าเดิมสำหรับใช้กักเก็บน้ำ มีความสูงประมาณ 10 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 400,000ลูกบาศก์เมตร
ทิศตะวันตกของเมืองมีเทือกเขาประทักษ์ทอดตัวยาวเป็นฉากหลังที่งดงามของเมือง โบราณสุโขทัยนั้น เป็นแหล่งที่อุดมด้วยพืชพรรณไม้ต่างๆ รวมทั้งพืชสมุนไพร และเป็นพื้นที่หลังคาที่สามารถรองรับน้ำฝนได้อีกด้วย จากความชาญฉลาดของคนสุโขทัยในอดีต จึงรู้จักสร้างคันดินกั้นน้ำขนาดใหญ่ในระหว่างตีนเขากิ่วอ้ายมาถึงตีนเขาพระ บาทใหญ่ อันเป็นที่รวมของน้ำจากโซกต่างๆ ตามบริเวณเขาถึง 17 โซก เป็นคันดินสำหรับผันแปรทิศทางของน้ำ ที่เชื่อกันมาแต่เดิมว่าคือ สรีดภงส ที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ดังข้อความต่อไปนี้ "เบื้องหัวนอนเมืองสุโขไทนี้ มีกุฏิ พิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้"
สรีดภงค์หรือทำนบพระร่วง อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตรงบริเวณที่ถูกขนาบด้วยภูเขาสองลูกเป็นรูปก้ามปู คือ เขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายมา ภูเขาทั้งสองลูกนี้อยู่ในทิวเขาหลวงด้านหลังตัวเมืองสุโขทัยโบราณ ลึกเข้าไปในทิวเขานี้เป็นซอกเขาอันเป็นต้นกำเนิดของทางน้ำเรียกว่า "โซกพระร่วงลองขรรค์"
ในปัจจุบันกรมชลประทานได้สร้างเขื่อนดินสูงเป็นแนวเชื่อมระหว่างปลายเขาพระ บาทใหญ่กับเขากิ่วอ้ายมา สามารถกักน้ำที่ไหลออกมาจากโซกพระร่วงลองขรรค์ บริเวณระหว่างเขาทั้งสองลูกจึงกลายเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดย่อมและระบายน้ำจาก อ่างเก็บน้ำนี้ลงคลองเสาหอ ซึ่งจะนำน้ำนี้เข้าคูเมืองสุโขทัยที่มุมเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้ อันเป็นตำแหน่งที่มีระดับความสูงของพื้นดินสูงที่สุดของเมืองสุโขทัย น้ำจากคลองเสาหอจะไหลลงคูเมืองด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ จากนั้นจะไหลเข้าคูเมืองด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกไปสู่มุมเมืองทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือซึ่งมีระดับต่ำที่สุดก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำลำพันไปลงแม่น้ำยม ที่อยู่ไกลออกไปทางทิศตะวันออก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น