วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

โบราณสถานสำคัญภายในวัดพระสี่อิริยาบท ประกอบด้วย


พระมหาวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าสุด พระวิหารตั้งอยู่บนฐาน 2 ชั้น ฐานไพทีชั้นล่าง ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง เป็นฐานแบบบัวลูกแก้วอกไก่ รอบลานประทักษิณ ประดับด้วยราวลูกกรงศิลาแลงโดยรอบ ฐานวิหารชั้นบน มีมุขเด็จทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านบนมีแท่นอาสนะสงฆ์ และฐานชุกชี สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป







พระอิริยาบถยืน


หรือ ปางประทานอภัย พระพักตร์อิ่มเอิบ พระโมลีขมวดใหญ่ องค์พระสภาพค่อนข้างสมบูณ์กว่าด้านอื่นๆ








พระอิริยาบถเดิน

หรือ ปางลีลา องค์พระได้ชำรุดไปมาก มีเพียงพระอูรุปรากฏให้เห็น








พระอิริยาบถนั่ง


หรือ ปางมารวิชัย สภาพชำรุดมากเหลือเพียงส่วนของฐาน







พระอิริยาบถนอน


หรือ ปางไสยาสน์ สภาพชำรุดหมด จนไม่เห็นองค์พระ







พระเจดีย์ประจำมุม


เป็นพระเจดีย์ ทรงปราสาทยอดระฆัง ตั้งอยู่มุมทั้งสี่ของมณฑป ต่อเนืองกับกำแพงแก้ว







บ่อตัดศิลาแลง


ตั้งอยู่ด้านหน้าวัด เป็นบ่อที่ใช้ในการตัดศิลาแลงให้เป็นรูปทรงต่างๆ ก่อนที่จะนำไปใช้ในการสร้างวัด






วัดพระสี่อิริยาบถ จ.กำแพงเพชร


หรือ วัดพระยืน ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 20-22 เป็นวัดขนาดใหญ่และมีโบราณสถานที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มณฑปพระสี่อิริยาบถ ซึ่งเป็นรูปแบบเหมือนดังที่พบที่ วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย


จาก จารึกลานเงิน ที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑป ได้กล่าวไว้ว่า พระมหามุนีรัตนโมลี เป็นผู้สร้าง และ เสด็จพ่อพระยาสอย เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น




วัดสระศรี จ.สุโขทัย


ชื่อ วัดสระศรี อายุ สมัยสุโขทัย ที่อยู่แหล่งที่ตั้ง เป็นโบราณสถานอยู่ในกำแพงเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดมหาธาตุ อยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย สถานภาพของสถานที่ เป็นโบราณสถานได้รับการบูรณะและดูแลโดยกรมศิลปากร ความสำคัญในอดีต - สภาพทางภูมิศาสตร์ โบราณสถานตั้งอยู่กลางน้ำ สภาพทางเศรษฐกิจสังคม - ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรม เป็นโบราณสถานแสดงถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์การรับพระพุทธศาสนาจากลังกาเข้ามาในอาณาจักรสุโขทัย ประวัติความเป็นมา เป็นโบราณสถานที่มีความงามมากแห่งหนึ่ง เนื่องจากที่ตั้งอยู่กลางน้ำที่มีขนาดใหญ่มี่สุด ชื่อว่า ตระพังตระกวนสิ่งสำคัญของวัดประกอบด้วย เจดีย์ทรงระฆัง วิหารและโบสถ์กลางน้ำ ก่อนพ.ศ. 2521 มีถนนจรดวิถีถ่องตัดผ่านกลางวัด ซึ่งทำลายคุณค่าและเป็นอันตรายต่อโบราณสถาน กรมศิลปากรจึงได้ปรับปรุงทัศนียภาพเพื่อรักษาโบราณสถานโดยขุดรื้อถอนออกไป แล้วสร้างถนนเลียบสระน้ำขึ้นแทน เจดีย์ทรงระฆังกลมของวัดเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงถึงการรับพระพุทธศาสนาจากลังกาของสุโขทัยบางครั้งจึงเรียกเจดีย์แบบนี้ว่า เจดีย์ทรงลังกา ส่วนโบสถ์ที่กลางน้ำก็เป็นความเชื่อถือแบบพุทธศาสนาที่ใช้น้ำในความหมายของความบริสุทธิ์ขอบเขตที่กันเอาไว้สำหรับให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรมเรียกว่า นทีสีมา สถานที่สำคัญ เจดีย์ทรงระฆัง วิหารและโบสถ์กลางน้ำ






ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ใกล้กับศาลตาผาแดง และวัดชนะสงคราม เป็นโบราณสถานขนาดกลาง บนเกาะ กลางสระน้ำขนาดใหญ่สุด ที่เรียกว่า ตระพังกวน ซึ่งนับเป็นโบราณสถานที่ภูมิทัศน์สวยงาม และเป็นบริเวณที่จัดงานเผาเทียนเล่นไฟ รวมทั้งงานแสงสีเสียงของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย




วัดศรีสวาย


ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นวัดที่มีศิลปะแบบขอม สร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 เดิมเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ มีพระปรางค์สามยอดเป็นประธาน ลักษณะเป็นรูปกลีบขนุน ประดับด้วยปูนปั้นรูปครุฑยุดนาค นางอัปสรและลายดอกไม้จีน ด้านหน้าพระปรางค์เป็นที่ตั้งของพระวิหาร ซึ่งมีระเบียงคดล้อมองค์พระปรางค์และพระวิหาร ด้านหลังโบราณสถานมีสระน้ำ เรียกว่า สระลอยบาป ใช้เป็นที่ทำพิธีลอยบาปหรือล้างบาปตามความเชื่อลัทธิพราหมณ์ ภายนอกสุดของวัดศรีสวายล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง


ครั้งเมื่อสำรวจวัดได้มีการพบ รูปพระอิศวร และหินจำหลัก ทับหลังพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ รูปพระนารายณ์สี่กรและชิ้นส่วนของเทวรูปและลึงค์ทำด้วยสำริด ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง




วัดตระพังทองหลาง


เป็นวัดขนาดกลาง โดยบริเวณรอบวัดมีอุทกสีมา ที่เป็นคูน้ำล้อมรอบ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่จากศิลปะและโบราณสถานที่ปรากฏ เป็นรูปแบบศิลปะใน ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นช่วงสูงสุดของงานศิลปกรรมของอาณาจักรสุโขทัย
โบราณสถานสำคัญภายในวัดตระพังทองหลาง คือ มณฑป ที่อยู่ด้านหลังพระวิหารโถง ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อเนื่องกัน เป็นที่ประดิษฐานพระประธานภายในวัด มณฑปนี้ทำหน้าที่แทนเจดีย์ประธาน สร้างในผังรูปสี่เหลี่ยม ก่ออิฐถือปูน ผนังทั้งสามด้านนั้นมีรูปปูนปั้นนูนสูงอยู่ภายในซุ้มของผนังของแต่ละด้าน ซึ่งเป็น เรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติ ประกอบไปด้วย ตอนพระพุทธเจ้าปราบช้างธนปาลหัตถีนาฬาคีรี ตอนเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนาโปรดพระญาติศากยวงศ์








อยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง เยื้องกับวัดช้างล้อม วัดนี้มีมณฑปขนาดกลางที่มีสัดส่วนงดงามที่สุด ด้านหน้ามณฑปมีฐานวิหารเสาศิลาแลง สิ่งที่น่าชมของวัดตระพังทองหลางคือ ศิลปกรรมปูนปั้นบนผนังทั้งสามด้านของมณฑปรูปสี่เหลี่ยม มณฑปด้านทิศตะวันออกเป็นซุ้มประตู อีกสามด้านเป็นผนังที่ประดับด้วยรูปปูนปั้นที่ชำรุดเกือบหมดแล้ว เป็นเรื่องตามพุทธประวัติ ดังนี้
ผนังด้านเหนือ เป็นภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าทรมานช้างชื่อนาฬาคีรี โดยปั้นเป็นรูปพระพุทธองค์ประทับยืนเคียงข้างด้วยพระอัครสาวก คือ พระอานนท์ ที่ปลายพระบาทของพระพุทธเจ้ามีร่องรอยปูนปั้นรูปหัวเข่าช้างคุกเข่ายอมแพ้
ผนังด้านใต้ เป็นภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์ พระพรหม และทวยเทพตามเสด็จมาส่ง ปัจจุบันภาพพิมพ์ที่ถอดจากภาพปูนปั้นนี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหง
ผนังด้านตะวันตก เป็นภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าประทานเทศนาโปรดพระบิดากับกษัตริย์ศากยวงศ์ ขณะทรงสั่งสอนทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ เป็นรูปรัศมีเปลวไฟล้อมรอบพระพุทธองค์ และมีรูปบรรดาพระญาติแวดล้อมอยู่ภายนอกรูปรัศมีนั้น
ภาพปูนปั้นเหล่านี้แสดงถึงลักษณะศิลปกรรมสมัยสุโขทัยที่เจริญสูงสุด หรือที่เรียกว่า ยุคทองของศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งมีอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 20

จุดสนใจภายในวัดตระพังทองหลาง

 คือ มณฑปและรูปปูนปั้นซึ่งเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ


ปัจจุบันวัดตระพังทองหลางเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เนื่องด้วยตั้งอยู่ในพื้นที่ๆ ผู้คนไม่ค่อยได้ผ่านมากันมากนักเนื่องจากอยู่ในซอยตัน ทางวัดจึงขาดปัจจัยบ้างในการบำรุงรักษาวัด นักท่องเที่ยวและผู้ที่มาไหว้พระ สามารถร่วมบุญได้ที่ท่านเจ้าอาวาส เพื่อช่วยบำรุงรักษาวัดให้คงอยู่กันต่อไป


วัดเชตุพน


ประวัติ
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด มีเพียง จารึกวัดสรศักดิ์ ซึ่งอยู่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (สุโขทัยตอนปลาย) ที่กล่าวถึงวัดเชตุพน ความว่าเมื่อครั้งสร้างวัดสรศักดิ์เสร็จสิ้นทางวัดได้นิมนต์พระจากวัดเชตุพนมาร่วมฉลองการสร้างวัด นอกจากนี้ยังพบหลักศิลาจารึกที่วัดเชตุพนซึ่งเป็นจารึกในปี พ.ศ.2057 กล่าวว่าเจ้าธรรมรังสีได้สร้างพระพุทธรูปเพื่อประดิษฐานภายในวัด


วัดเชตุพน เป็นวัดโบราณขนาดใหญ่ ตั้งอยู่นอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย รอบวัดมี อุทกสีมา (คูน้ำ) ล้อมรอบเพื่อแสดง เขตพุทธาวาส ซึ่งเป็นแบบแผนของวัดในอาณาจักรสุโขทัย


ศาสนสถานสำคัญที่ปรากฏอยู่ประกอบด้วย มณฑปจัตุรมุข ทรงสี่เหลี่ยม แต่ละด้านประดิษฐานด้วย พระพุทธรูปสี่อิริยาบท ซึ่งประกบด้วย อิริยาบถยืน เดิน (ลีลา) นั่ง นอน (ไสยาสน์) ส่วนแกนกลางมณฑปนี้ใช้รองรับโครงสร้างของหลังคา โดยมณฑปนี้ยังมีอยู่ที่วัดอื่นๆ อีกเช่น วัดพระพายหลวง และวัดพระสี่อิริยาบถ


ด้านหลังมณฑปจัตุรมุขมี เจดีย์ทรงวิมาน ย่อมุมไม้ยี่สิบ มีเสาก่อซ้อนกันเป็นหลังคา ที่ผนังมีลายเขียนเส้นสีดำลวดลายพรรณพฤกษา ล้อมรอบด้วย กำแพงแก้ว ซึ่งเป็นลูกกรงสร้างจากหินชนวน เป็นแท่งขนาดใหญ่และหนา มีการสกัดทำเป็นรูเดือยเพื่อรับซี่งลูกกรง







นอกกำแพงเมืองด้านตะวันออก


วัดช้างล้อม

ประวัติ

นักวิชาการสันนิษฐานว่า วัดช้างล้อมนี้น่าจะเป็นวัดเดียวกันกับที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่กล่าวไว้ว่าในปี พ.ศ. 1829 พ่อขุนรามคำแหงทรงให้ขุดเอาพระธาตุขึ้นมาทำบูชา และฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัยก่อนก่อพระเจดีย์ทับลงไป

วัดช้างล้อม เป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นประธานของวัด รอบฐานเจดีย์ ประดับด้วย ปูนปั้นเป็นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว ด้านหน้ามีฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และยังมีฐานกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ วัดตระพังทองหลาง


ศิลปกรรมที่สำคัญคือ มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ ผนังด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนาโปรดพระพุทธบิดากับกษัตริย์ศากยราช และตอนเสด็จโปรดนางพิมพา นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของสุโขทัย





นอกกำแพงเมืองด้านใต้


วัดเจดีย์สี่ห้อง


โบราณสถานที่น่าสนใจคือ เจดีย์ที่เข้าใจว่าเป็นทรงลังกา ที่ฐานมีลวดลายปูนปั้นเป็นรูปสิงห์ขี่ช้าง รูปเทวดาทั้งผู้หญิง ผู้ชาย ถือแจกันดอกไม้ ลวดลายสวยงามมาก วัดเชตุพน


ศิลปกรรมที่น่าสนใจ คือมณฑปสร้างด้วยหินชนวน ประดิษฐานพระพุทธรูป สี่อิริยาบถ คือ พระพุทธรูปแบบนั่ง ยืน เดิน นอน ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีการใช้วัสดุทั้งอิฐหินชนวน ศิลาแลง ในการก่อสร้างที่ประสานกันอย่างกลมกลืน ได้มีการพบศิลาจารึกหลักที่ 58 จารึกในปี พ.ศ. 2057 กล่าวว่าเจ้าธรรมรังสีสร้างพระพุธรูปในวัดนี้









" วัดเจดีย์สี่ห้อง" อีกหนึ่งโบราณสถานที่มีความสำคัญทางด้านการท่องเที่ยว ที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อีกหนึ่งอุทยานที่ตั้งอยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ห่างจากตัวจังหวัดสุโขทัยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร

นอกจากนี้แล้ว วัดเจดีย์สี่ห้อง ยังจัดเป็นโบราณสถานด้านนอกกำแพงเมืองทิศใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของวัดเชตุพน ห่างไปราว 100 เมตร มีคูน้ำเป็นอุทกสีมา ล้อมรอบบริเวณ วัด ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด มีเพียงศิลปกรรมภายในวัด ที่สอดคล้องกับศิลปะสุโขทัย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-20 ซึ่งเป็นศิลปะแบบลังกา

ภายในเขตวัดยังมีโบราณสถานที่น่าสนใจ คือ ที่ฐานเจดีย์ประธานมีภาพปูนปั้นประดับโดยรอบปั้นเป็นรูปบุคคล รูปบุรุษ และสตรี สวมอาภารณ์ และเครื่องประดับ ในมือถือภาชนะ มีพรรณพฤกษางอกโผล่พ้นออกมาที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นมีปูนปั้นรูปช้าง และสิงห์ประดับรูปบุคคล องค์เจดีย์ประธานเป็นทรงระฆังกลมที่ได้รับการบูรณะ ส่วน ยอดเจดีย์ได้หักพังลง
เขื่อนสรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วง



ตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่า ทำนบนี้เป็นเขื่อนดิน (คันดิน) สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาระหว่าง เขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายมา เพื่อกักน้ำและชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมืองและพระราชวังในสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันกรมชลประทานได้ปรับปรุงบูรณะและซ่อมแซมขึ้นใหม่ให้มีความสูงและแข็งแรงกว่าเดิมสำหรับใช้กักเก็บน้ำ มีความสูงประมาณ 10 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 400,000ลูกบาศก์เมตร





   

ทิศตะวันตกของเมืองมีเทือกเขาประทักษ์ทอดตัวยาวเป็นฉากหลังที่งดงามของเมือง โบราณสุโขทัยนั้น เป็นแหล่งที่อุดมด้วยพืชพรรณไม้ต่างๆ รวมทั้งพืชสมุนไพร และเป็นพื้นที่หลังคาที่สามารถรองรับน้ำฝนได้อีกด้วย จากความชาญฉลาดของคนสุโขทัยในอดีต จึงรู้จักสร้างคันดินกั้นน้ำขนาดใหญ่ในระหว่างตีนเขากิ่วอ้ายมาถึงตีนเขาพระ บาทใหญ่ อันเป็นที่รวมของน้ำจากโซกต่างๆ ตามบริเวณเขาถึง 17 โซก เป็นคันดินสำหรับผันแปรทิศทางของน้ำ ที่เชื่อกันมาแต่เดิมว่าคือ สรีดภงส ที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ดังข้อความต่อไปนี้ "เบื้องหัวนอนเมืองสุโขไทนี้ มีกุฏิ พิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้"

สรีดภงค์หรือทำนบพระร่วง อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตรงบริเวณที่ถูกขนาบด้วยภูเขาสองลูกเป็นรูปก้ามปู คือ เขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายมา ภูเขาทั้งสองลูกนี้อยู่ในทิวเขาหลวงด้านหลังตัวเมืองสุโขทัยโบราณ ลึกเข้าไปในทิวเขานี้เป็นซอกเขาอันเป็นต้นกำเนิดของทางน้ำเรียกว่า "โซกพระร่วงลองขรรค์"


ในปัจจุบันกรมชลประทานได้สร้างเขื่อนดินสูงเป็นแนวเชื่อมระหว่างปลายเขาพระ บาทใหญ่กับเขากิ่วอ้ายมา สามารถกักน้ำที่ไหลออกมาจากโซกพระร่วงลองขรรค์ บริเวณระหว่างเขาทั้งสองลูกจึงกลายเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดย่อมและระบายน้ำจาก อ่างเก็บน้ำนี้ลงคลองเสาหอ ซึ่งจะนำน้ำนี้เข้าคูเมืองสุโขทัยที่มุมเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้ อันเป็นตำแหน่งที่มีระดับความสูงของพื้นดินสูงที่สุดของเมืองสุโขทัย น้ำจากคลองเสาหอจะไหลลงคูเมืองด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ จากนั้นจะไหลเข้าคูเมืองด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกไปสู่มุมเมืองทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือซึ่งมีระดับต่ำที่สุดก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำลำพันไปลงแม่น้ำยม ที่อยู่ไกลออกไปทางทิศตะวันออก


นอกกำแพงเมืองด้านตะวันตก


วัดสะพานหิน

ประวัติ

   พระอัฏฐารสซึ่งหมายถึงพระพุทธรูปประทับยืนที่นิยมสร้างกันในสมัยสุโขทัย สันนิษฐานกันว่า พระอัฎฐารสนี้ คือพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ที่ศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงเมืองสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า "…ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันณึ่งมนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฎฐารสอันณึ่งลุกยืน… " และสันนิษฐานกันอีกว่า วัดสะพานหินนี้น่าจะเป็นวัดที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงช้างเผือกชื่อ รูจาคีรี ขึ้นไปนบพระทุกวันข้างขึ้น 15 ค่ำและข้างแรม 15 ค่ำ






    โบราณสถานด้านทิศตะวันตกของกำแพงเมืองที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินลูกเตี้ยสูงประมาณ 200 เมตร มีทางเดินปูด้วยหินชนวนแผ่นบางๆ จนถึงบริเวณลานวัด มีวิหารก่อด้วยอิฐ มีเสาก่อด้วยศิลาแลง 4 แถว 5 ห้อง ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระปางประทานอภัยสูง 12.50 เมตร เรียกว่า "พระอัฏฐารศ"





วัดศรีชุม


ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงไปทางทิศตะวันตก 800 เมตร เป็นวัดที่ประดิษฐานพระอัจนะหรืออจนะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย และลักษณะของวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระอัจนะนั้น สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้านก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามบันไดแคบๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์อัจนะ สามารถขึ้นไปถึงผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่ แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี นอกจากนี้ บนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่เกาะสลักลวดลายต่างๆ ไว้ มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบ เป็นสาเหตุที่วิหารวัดศรีชุมจึงมีความเร้นลับซ่อนอยู่ เมื่อพิจารณากันอย่างลึกซึ้งจะพบว่า พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ พระร่วงทรงพระปรีชาสามารถในด้านปลุกปลอบใจทหารหาญและด้านอื่นๆ อีกมาก เพราะผนังด้านข้างขององค์พระอจนะมีช่องเล็กๆ ถ้าหากใครแอบเข้าไปทางอุโมงค์แล้วไปโผล่ที่ช่องนี้และพูดออกมาดังๆ ผู้ที่อยู่ภายในวิหารจะต้องนึกว่าพระอจนะพูดได้ และเสียงพูดนั้นจะกังวานน่าเกรงขาม เพราะวิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดม




แหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (เตาทุเรียง)



อยู่ใกล้วัดพระพายหลวงบริเวณแนวคูเมืองเก่าที่เรียกว่า "แม่โจน" เป็นเตาเผาถ้วยชามสมัยสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ค้นพบเตาโดยรอบ 49 เตา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บริเวณคันคูแม่น้ำโจนด้านทิศเหนือ 37 เตา ด้านทิศใต้ข้างกำแพงเมือง 9 เตา และด้านทิศตะวันออก 3 เตา เตาเผาเครื่องสังคโลก มีลักษณะคล้ายประทุนเกวียน ขนาดกว้าง 1.50-2.00 เมตร ยาว 4.5 เมตร เครื่องปั้นดินเผาที่พบบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นประเภทถ้วยชามมีขนาดใหญ่ น้ำยาเคลือบขุ่นสีเทาแกมเหลือง มีลายเขียนสีดำ ส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกไม้ ปลา






เครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (สังคโลก) อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19-22 มีแหล่งเตาเผาที่พบแล้ว 2 แห่ง ได้แก่


1. แหล่งเตาเผาที่อำเภอเมืองสุโขทัย
แหล่งเตาเผานี้อยู่บริเวณใกล้ลำน้ำโจน ผลิตเครื่องถ้วยชนิดที่มีการเขียนลายสีดำใต้เคลือบ และประเภทเคลือบสีขาว ลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ คือ มีเนื้อดินที่หยาบ สีเทาดำ บางครั้ง ออกสีน้ำตาล


2. แหล่งเตาเผาที่อำเภอศรีสัชนาลัย(สวรรคโลกเก่า)
แหล่งเตาเผานี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม นอกเมืองศรีสัชนาลัย เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งนี้ มีทั้ง ชนิดเคลือบและไม่เคลือบ ชนิดที่เคลือบยังแยกได้เป็น เคลือบสีขาว เคลือบสีน้ำตาล เคลือบสีเขียว เคลือบสองสี และเขียนลายสีตำใต้เคลือบ

วัดพระพายหลวง


ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ วัดนี้มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น มีปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ทำด้วยศิลาแลง แบบศิลปะลพบุรี ยังคงเห็นลายปูนปั้นที่ปรางค์ด้านทิศเหนือ ด้านหน้าปรางค์มีฐานวิหารเจดีย์ที่ปรักหักพัง ทางด้านประติมากรรม มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางต่างๆ เช่น นั่ง ยืน เดิน นอน ซึ่งส่วนใหญ่ชำรุดแล้วประดิษฐานที่มณฑปและซุ้มเจดีย์






      ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ ก่อสร้างก่อนการตั้งเมืองสุโขทัย มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ เพราะมีรูปแบบศิลปกรรมตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของสุโขทัย และมีการสร้างเพิ่มเติมในสมัยสุโขทัยตอนปลาย วัดพระพายหลวงจึงเป็นแหล่งรวมงานศิลปกรรมหลายยุคหลายสมัย ผังบริเวณวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียก คูแม่โจน มีปรางค์ศิลาแลง 3 องค์เป็นประธานของวัด องค์กลางและองค์ด้านทิศใต้พังเหลือแต่ฐาน เหลือเพียงองค์ด้านเหนือ หน้าบันประดับลายปูนปั้นเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยตอนต้นที่งดงามมาก สันนิษฐานว่าสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศิลปะขอมสมัยบายน (รัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7) บริเวณหน้าปรางค์มีวิหารที่เหลือเพียงเสาใหญ่ศิลาแลง ถาวรวัตถุที่สร้างเสริมต่อขยายออกไปทางด้านหน้าของพระปรางค์สามองค์ เช่น เจดีย์เหลี่ยมที่เหลือเพียงยอดปรักหักพัง และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบท ได้แก่ นั่ง ยืน เดิน และนอน ปัจจุบันปรักหักพังลงเกือบหมด

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช


สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่องทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ ลักษณะพระบรมรูป พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาด 2 เท่าขององค์จริง สูง 3 เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนพระแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน พระแท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้างๆ ลักษณะ พระพักตร์เหมือนอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ถ่ายทอดความรู้สึกว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรมและเฉียบขาด ที่ด้านข้างมีภาพแผ่นจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับ พระราชกรณียกิจของพระองค์ตามที่อ้างถึงในจารึกสุโขทัย








ลักษณะพระบรมรูป
    
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับนั่งห้อยพระบาทบนพระแท่นมนังศิลาบาตร ขนาดเท่าพระแท่นจริงยาว 4 เมตร กว้าง 2.88 เมตร พระหัตถ์ขวาทรงถือสมุดไทยอันหมายถึงสรรพวิทยาการต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงรอบรู้ พระหัตถ์ซ้ายแสดงลักษณะทรงสั่งสอนพสกนิกรหรือขณะออกว่าราชการ พระแท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้าง ๆ ขนาดพระบรมรูป 2 เท่าพระองค์จริง เฉพาะพระองค์สูง 3 เมตร หล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาดน้ำหนักประมาณ 3 ตัน ลักษณะพระพักตร์อย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ถ่ายทอดความรู้สึกที่แสดงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรม และเฉียบขาด เครื่องฉลองพระองค์และศิราภรณ์ยึดถือลักษณะจากเทวรูปของศิลปสมัยสุโขทัย ผู้ปั้นหุ่นพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ นายสนั่น ศิลากรณ์ นายช่างเอกของกรมศิลปากรซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีฝีมือเป็นเยี่ยมและเป็นศิษย์ของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร
วัดตระพังเงิน


คำว่า "ตระพัง" หมายถึง สระน้ำ หรือหนองน้ำ เป็นโบราณสถานสำคัญตั้งอยู่บริเวณขอบตระพังเงินด้านทิศตะวันตก มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือดอกบัวตูมเป็นประธาน บริเวณเรือนธาตุจะมีชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนทั้ง 4 ทิศ ด้านหน้าเป็นวิหาร 7 ห้อง ฐานและเสาก่อด้วยศิลาแลง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย บริเวณตรงกลางตระพังเป็นเกาะขนาดเล็ก เป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ บริเวณตระพังจะมีดอกบัวขึ้นอยู่รอบสระสวยงามมาก




เนินปราสาทพระร่วงหรือเขตพระราชวัง



ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัดมหาธาตุ เป็นซากอาคารก่อด้วยอิฐ ขุดแต่งบูรณะแล้ว มีฐานบัวโดยรอบทำด้วยปูนปั้น สันนิษฐานว่าเนินแห่งนี้คือที่ตั้งของพระที่นั่งหรือปราสาทที่ประทับของกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงที่ครองกรุงสุโขทัยในกาลก่อน แต่องค์ปราสาทหาชิ้นดีไม่ได้ เพราะคงจะสร้างด้วยมือและไม้ เดี๋ยวนี้มีแต่ซากกระเบื้องมุงหลังคากระจัดกระจายทั่วไป ณ เนินปราสาทแห่งนี้เองที่ได้ค้นพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงฯ และพระแท่นมนังคศิลา







เนินปราสาทพระร่วง ทางทิศตะวันออกติดกันกับวัดมหาธาตุ มีโบราณสถานแห่งหนึ่งซึ่งเรียกในปัจจุบันว่า เนินปราสาทพระร่วง หรือเขตพระราชวังในสมัยสุโขทัย ตามการสันนิษฐานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสันนิษฐานว่า

บริเวณนี้เคยเป็นฐาน ปราสาทราชวัง ของกษัตริย์เมืองสุโขทัย กรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะ เมื่อ พ.ศ. 2526 พบฐานอาคารแบบฐานบัวค่ำ บัวหงาย มีลักษณะเป็นฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 27.50X51.50 เมตร มีบันไดที่ด้านหน้า และด้านหลังอย่างละหนึ่งแห่ง

อย่างไรก็ตาม ในการขุดค้นทางโบราณคดีไม่พบหลักฐานที่พอจะชี้ได้ว่าเนินปราสาทพระร่วงนี้เป็นปราสาทราชวัง อีกทั้งแผนที่เก่าทำในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็บ่งบอกว่าเป็นบริเวณเดียวกันกับวัดมหาธาตุ คือเป็นสิ่งก่อสร้างเนื่องในทางศาสนาในวัด หรือศาลาโถงมากกว่า วังของกษัตริย์สุโขทัยควรเป็นตำหนักไม้

ตำแหน่งที่ตั้งตามที่ปรากฏหลักฐานแห่งหนึ่งนั้น ควรอยู่เหนือศาลตาผาแดง ติดกับวัดสรศักดิ์ทางทิศตะวันตก ซึ่งศิลาจารึกวัดสรศักดิ์กล่าวว่าเป็นตำหนักของเจ้านายสุโขทัยเมื่อตอนกลางพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งเช่นนี้จะตรงกันกับตำแหน่งของพระราชวังกษัตริย์เขมรโบราณที่เมืองพระนครหลวงหรือ เมืองนครธม
ศาลาตาผาแดง


เป็นศาสนสถานตามคติศาสนาฮินดู ก่อด้วยศิลาแลง ส่วนยอดหักพังลงหมด รูปแบบทางสถาปัตยกรรม และประติมากรรมศิลาที่เป็นรูปเคารพเปรียบเทียบได้กับศิลปะในสมัยนครวัต (ราว พ.ศ. 1650-1720) จัดเป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเมืองสุโขทัย





บริเวณเมืองสุโขทัยเก่า ก่อน พ.ศ.1800 เคยมีร่องรอยของวัฒนธรรมเขมรจากศูนย์กลางในกัมพูชาอยู่อย่างชัดเจน ได้แก่โบราณวัตถุสถานที่พบอยู่ทั่วไป เช่นตัวเมืองโบราณคูน้ำคันดินรูปสี่เหลี่ยมที่มีวัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลาง ตั้งอยู่ติดชิดกับเมืองสุโขทัยขึ้นไปทางเหนือเล็กน้อย อีกทั้งจารึกหลักที่ 2 (วัดศรีชุม) ก็กล่าวถึงเรื่องย้อนหลังในช่วงต้นสมัยสุโขทัยที่มีเหตุการณ์รบพุ่งกับ ขอมสมาดโขลญลำพง และการได้รับอภิเษกของพ่อขุนผาเมืองจาก“ผีฟ้าเมืองศรีโสธรปุระ” ซึ่งล้วนแล้วเกี่ยวข้องกับศูนย์กลางของเขมรในลุ่มทะเลสาบของกัมพูชาทั้งสิ้น


ภายในเมืองเก่าสุโขทัยทางทิศเหนือ มีศาลตาผาแดง เป็นปราสาทแบบเขมรก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ ส่วนยอดพังทลายไปแล้วเหลือแต่ส่วนห้องที่เคยประดิษฐานรูปเคารพกับมุขทางเข้าที่เชื่อมต่อหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแบบศาสนสถานทั่วไป


ที่นี่ได้เคยพบกลุ่มประติมากรรมรูปเทวดาสลักจากหินทราย แม้ชำรุดส่วนหัวและมือหักหายแต่สังเกตได้จากการตกแต่งเครื่องประดับที่เป็นสังวาลย์ไขว้รูปกากบาทและการนุ่งผ้าที่ชักชายยาวออกมาด้านข้างที่นักวิชาการเทียบว่าคล้ายกับรูปบุคคลในศิลปะเขมรแบบบายน ช่วง พ.ศ.1750 จึงอาจกำหนดอายุสมัยของโบราณสถานแห่งนี้ได้ในพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของกัมพูชาโบราณ


โบราณสถานแห่งนี้น่าจะเคยมีชื่อเรียกมาก่อนที่รู้จักกัน เช่น พระมหาสมณเจ้า สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงเรียกว่า โคกปราสาท ซึ่งชาวบ้านเมืองเก่าสมัยนั้นเชื่อถือความศักดิ์สิทธิ์กันมาก และในเอกสารเก่าๆที่บันทึกรุ่นรัชกาลที่ 5-6 มักเรียกกันว่า ศาลตาผ้าแดงบ้าง ศาลพระประแดงบ้าง จนกลายมาเป็นศาลตาผาแดงในปัจจุบัน


คำคำนี้น่าจะเป็นคำที่เลือนมาจากชื่อ กมรเตง ที่หมายถึง “เจ้า” ในภาษาเขมร และพบในจารึกเขมรโบราณจำนวนมากที่กล่าวถึง กมรเตง ในฐานะชื่อสถาปนาของรูปเคารพในศานาฮินดู (ซึ่งก็เป็นตัวแทนของกษัตริย์เมื่อสิ้นพระชนม์ไปแล้ว) และตำแหน่งของขุนนางชั้นสูงอีกด้วย ยังมีคำว่า ประแดง ที่หมายถึงข้าราชการบางตำแหน่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งสืบมาจากคำเขมรเช่นเกียวกัน และชื่อดังกล่าวยังพบอยู่ในชื่อเมืองโบราณบางแห่งที่เคยมีร่องรอยของวัฒนธรรมเขมรอยู่ เช่น เมืองพระประแดง ที่สมุทรปราการ ซึ่งในสมัยอยุธยาได้เคยขุดพบเทวรูปเมื่อได้ชำระคลองสำโรง เป็นต้น


ดังนั้น ชื่อของศาลตาผาแดงจึงสื่อถึงความเป็นศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่ เกี่ยวข้องกับความเชื่อแบบพราหมณ์-ฮินดูของเขมร อันเป็นรอยต่อทางประวัติศาสตร์ช่วงที่อำนาจของอาณาจักรกัมพูชาโบราณที่เข้ามาตั้งมั่นในลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยมีละโว้หรือลพบุรีเป็นฐานที่มั่นและกำลังแผ่ขึ้นไปมาทางตอนบนของภาคกลางแถบลุ่มน้ำยม ก่อนเสื่อมสลายไปในราว พ.ศ.1750 เป็นต้นมา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง


เป็นสถานที่รวบรวม และจัดแสดงศิลปโบราณที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีภายในเมืองสุโขทัยและที่ประชาชนมอบให้ บริเวณพิพิธภัณฑ์จะแบ่งส่วนการแสดงโบราณวัตถุไว้เป็น 3 ส่วนคือ






1. อาคารลายสือไท 700 ปี เป็นอาคารใหม่ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุสมัยสุโขทัย เช่น พระพุทธรูป เครื่องใช้ ถ้วยชาม สังคโลก ศิลาจารึก ฯลฯ


2. อาคารพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น แสดงศิลปวัตถุในยุคสมัยต่างๆ มากมาย อาทิ พระพุทธรูปสำริด โอ่ง สังคโลก เครื่องศาสตราวุธ เครื่องถ้วยชามสังคโลก เงินตรา ท่อน้ำระบบชลประทานสุโขทัย ฯลฯ


3. พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จะอยู่ด้านนอกโดยรอบอาคารใหญ่ เป็นที่ตั้งแสดงศิลปะวัตถุโบราณต่างๆ อาทิ พระพุทธรูปศิลา แผ่นจำหลัก รูปทรงอาคารไทยแบบต่างๆ เตาทุเรียงจำลอง เสมาธรรมจักศิลา เป็นต้น


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวัน ยกเว้น วันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. ค่าธรรมเนียมเข้าชม คนละ 30 บาท กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลเมือง จังหวัดสุโขทัย 64210 โทร. (055) 612167


สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ภายในกำแพงเมือง


วัดมหาธาตุ






      วัดมหาธาตุ  เป็นวัดใหญ่อยู่กลางเมือง สร้างสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระเจดีย์ต่างๆ รวมถึง 200 องค์ นับเป็นวัดสำคัญประจำกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ตั้งเป็นเจดีย์ประธาน ล้อมรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง 4 และเจดีย์แบบศรีวิชัยผสมลังกาก่อด้วยอิฐอยู่ที่มุม ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันได้รับการเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ ที่ด้านเหนือและด้าน ไต้เจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มพระ เรียกว่า "พระอัฎฐารศ" ด้านใต้ยังพบแท่งหินเรียกว่า "ขอมดำดิน" อีกด้วย


ความสำคัญทางประวัติศาสตร์


บริเวณที่ตั้งของจังหวัดสุโขทัยเป็นบริเวณที่ราบตอนล่างของภาคเหนือ ได้ค้นพบหลักฐานการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว ตามหลักฐานทางโบราณคดีที่พบใน เขตอำเภอศรีนคร อำเภอบ้านด่านลานหอย และอำเภอคีรีมาศ ซึ่งแสดงถึงหลักฐานทางชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนเหล่านี้คงอยู่ต่อเนื่องกันและตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นในเวลาต่อมา


จนกระทั่งประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 (พ.ศ. 1100 เป็นต้นมา) ชุมชนบริเวณนี้ได้มีการ ติดต่อกับดินแดนอื่นแถบบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีพื้นฐานวัฒนธรรมแบบทวารวดี โดยได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น อำเภอศรีสัชนาลัย



หลักฐานทางศิลปกรรมในเขตเมืองเก่าสุโขทัยที่ศาลตาผาแดง และปรางค์เขาปู่จาในเขตอำเภอคีรีมาศ เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาของวัฒนธรรมเขมรโบราณในราวพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ.1700 เป็นต้นมา) และน่าจะเป็นการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองในวัฒนธรรมเขมร ในบริเวณที่ราบเชิงเขาหลวงเป็นครั้งแรก จนราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ปรากฏเรื่องราวการตั้งตนเป็นอิสระ เพื่อ ปกครองสุโขทัยของกลุ่มชน ซึ่งต่อมาเป็นบรรพชนของคนไทยในปัจจุบัน



อาณาจักรสุโขทัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีนาวนำถม และเริ่ม ชัดเจนมากขึ้นในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางหาว พ.ศ. 1781 - 1822) อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช1841) อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยในช่วง รัชสมัยของพระองค์มั่นคงมาก ได้ทรงแผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยได้เจริญขึ้นทุกสาขา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเจริญทั้งด้านประวัติ-ศาสตร์ การสงคราม ภูมิศาสตร์ กฎหมาย ประเพณี การปกครอง การเศรษฐกิจ การสังคม ปรัชญา พระพุทธศาสนา การประดิษฐ์อักษรไทย และ อื่น ๆ ราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พระร่วงหรือสุโขทัย) ได้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยสืบต่อมาเป็นเวลา 200 ปี ก็ถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา



ในการประชุม ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย เมื่อ พ.ศ.2534 คณะกรรมการมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงผลงานทาง สถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2531