วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

โบราณสถานสำคัญภายในวัดพระสี่อิริยาบท ประกอบด้วย


พระมหาวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าสุด พระวิหารตั้งอยู่บนฐาน 2 ชั้น ฐานไพทีชั้นล่าง ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง เป็นฐานแบบบัวลูกแก้วอกไก่ รอบลานประทักษิณ ประดับด้วยราวลูกกรงศิลาแลงโดยรอบ ฐานวิหารชั้นบน มีมุขเด็จทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านบนมีแท่นอาสนะสงฆ์ และฐานชุกชี สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป







พระอิริยาบถยืน


หรือ ปางประทานอภัย พระพักตร์อิ่มเอิบ พระโมลีขมวดใหญ่ องค์พระสภาพค่อนข้างสมบูณ์กว่าด้านอื่นๆ








พระอิริยาบถเดิน

หรือ ปางลีลา องค์พระได้ชำรุดไปมาก มีเพียงพระอูรุปรากฏให้เห็น








พระอิริยาบถนั่ง


หรือ ปางมารวิชัย สภาพชำรุดมากเหลือเพียงส่วนของฐาน







พระอิริยาบถนอน


หรือ ปางไสยาสน์ สภาพชำรุดหมด จนไม่เห็นองค์พระ







พระเจดีย์ประจำมุม


เป็นพระเจดีย์ ทรงปราสาทยอดระฆัง ตั้งอยู่มุมทั้งสี่ของมณฑป ต่อเนืองกับกำแพงแก้ว







บ่อตัดศิลาแลง


ตั้งอยู่ด้านหน้าวัด เป็นบ่อที่ใช้ในการตัดศิลาแลงให้เป็นรูปทรงต่างๆ ก่อนที่จะนำไปใช้ในการสร้างวัด






วัดพระสี่อิริยาบถ จ.กำแพงเพชร


หรือ วัดพระยืน ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 20-22 เป็นวัดขนาดใหญ่และมีโบราณสถานที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มณฑปพระสี่อิริยาบถ ซึ่งเป็นรูปแบบเหมือนดังที่พบที่ วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย


จาก จารึกลานเงิน ที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑป ได้กล่าวไว้ว่า พระมหามุนีรัตนโมลี เป็นผู้สร้าง และ เสด็จพ่อพระยาสอย เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น




วัดสระศรี จ.สุโขทัย


ชื่อ วัดสระศรี อายุ สมัยสุโขทัย ที่อยู่แหล่งที่ตั้ง เป็นโบราณสถานอยู่ในกำแพงเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดมหาธาตุ อยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย สถานภาพของสถานที่ เป็นโบราณสถานได้รับการบูรณะและดูแลโดยกรมศิลปากร ความสำคัญในอดีต - สภาพทางภูมิศาสตร์ โบราณสถานตั้งอยู่กลางน้ำ สภาพทางเศรษฐกิจสังคม - ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรม เป็นโบราณสถานแสดงถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์การรับพระพุทธศาสนาจากลังกาเข้ามาในอาณาจักรสุโขทัย ประวัติความเป็นมา เป็นโบราณสถานที่มีความงามมากแห่งหนึ่ง เนื่องจากที่ตั้งอยู่กลางน้ำที่มีขนาดใหญ่มี่สุด ชื่อว่า ตระพังตระกวนสิ่งสำคัญของวัดประกอบด้วย เจดีย์ทรงระฆัง วิหารและโบสถ์กลางน้ำ ก่อนพ.ศ. 2521 มีถนนจรดวิถีถ่องตัดผ่านกลางวัด ซึ่งทำลายคุณค่าและเป็นอันตรายต่อโบราณสถาน กรมศิลปากรจึงได้ปรับปรุงทัศนียภาพเพื่อรักษาโบราณสถานโดยขุดรื้อถอนออกไป แล้วสร้างถนนเลียบสระน้ำขึ้นแทน เจดีย์ทรงระฆังกลมของวัดเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงถึงการรับพระพุทธศาสนาจากลังกาของสุโขทัยบางครั้งจึงเรียกเจดีย์แบบนี้ว่า เจดีย์ทรงลังกา ส่วนโบสถ์ที่กลางน้ำก็เป็นความเชื่อถือแบบพุทธศาสนาที่ใช้น้ำในความหมายของความบริสุทธิ์ขอบเขตที่กันเอาไว้สำหรับให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรมเรียกว่า นทีสีมา สถานที่สำคัญ เจดีย์ทรงระฆัง วิหารและโบสถ์กลางน้ำ






ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ใกล้กับศาลตาผาแดง และวัดชนะสงคราม เป็นโบราณสถานขนาดกลาง บนเกาะ กลางสระน้ำขนาดใหญ่สุด ที่เรียกว่า ตระพังกวน ซึ่งนับเป็นโบราณสถานที่ภูมิทัศน์สวยงาม และเป็นบริเวณที่จัดงานเผาเทียนเล่นไฟ รวมทั้งงานแสงสีเสียงของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย




วัดศรีสวาย


ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นวัดที่มีศิลปะแบบขอม สร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 เดิมเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ มีพระปรางค์สามยอดเป็นประธาน ลักษณะเป็นรูปกลีบขนุน ประดับด้วยปูนปั้นรูปครุฑยุดนาค นางอัปสรและลายดอกไม้จีน ด้านหน้าพระปรางค์เป็นที่ตั้งของพระวิหาร ซึ่งมีระเบียงคดล้อมองค์พระปรางค์และพระวิหาร ด้านหลังโบราณสถานมีสระน้ำ เรียกว่า สระลอยบาป ใช้เป็นที่ทำพิธีลอยบาปหรือล้างบาปตามความเชื่อลัทธิพราหมณ์ ภายนอกสุดของวัดศรีสวายล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง


ครั้งเมื่อสำรวจวัดได้มีการพบ รูปพระอิศวร และหินจำหลัก ทับหลังพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ รูปพระนารายณ์สี่กรและชิ้นส่วนของเทวรูปและลึงค์ทำด้วยสำริด ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง




วัดตระพังทองหลาง


เป็นวัดขนาดกลาง โดยบริเวณรอบวัดมีอุทกสีมา ที่เป็นคูน้ำล้อมรอบ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่จากศิลปะและโบราณสถานที่ปรากฏ เป็นรูปแบบศิลปะใน ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นช่วงสูงสุดของงานศิลปกรรมของอาณาจักรสุโขทัย
โบราณสถานสำคัญภายในวัดตระพังทองหลาง คือ มณฑป ที่อยู่ด้านหลังพระวิหารโถง ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อเนื่องกัน เป็นที่ประดิษฐานพระประธานภายในวัด มณฑปนี้ทำหน้าที่แทนเจดีย์ประธาน สร้างในผังรูปสี่เหลี่ยม ก่ออิฐถือปูน ผนังทั้งสามด้านนั้นมีรูปปูนปั้นนูนสูงอยู่ภายในซุ้มของผนังของแต่ละด้าน ซึ่งเป็น เรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติ ประกอบไปด้วย ตอนพระพุทธเจ้าปราบช้างธนปาลหัตถีนาฬาคีรี ตอนเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนาโปรดพระญาติศากยวงศ์








อยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง เยื้องกับวัดช้างล้อม วัดนี้มีมณฑปขนาดกลางที่มีสัดส่วนงดงามที่สุด ด้านหน้ามณฑปมีฐานวิหารเสาศิลาแลง สิ่งที่น่าชมของวัดตระพังทองหลางคือ ศิลปกรรมปูนปั้นบนผนังทั้งสามด้านของมณฑปรูปสี่เหลี่ยม มณฑปด้านทิศตะวันออกเป็นซุ้มประตู อีกสามด้านเป็นผนังที่ประดับด้วยรูปปูนปั้นที่ชำรุดเกือบหมดแล้ว เป็นเรื่องตามพุทธประวัติ ดังนี้
ผนังด้านเหนือ เป็นภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าทรมานช้างชื่อนาฬาคีรี โดยปั้นเป็นรูปพระพุทธองค์ประทับยืนเคียงข้างด้วยพระอัครสาวก คือ พระอานนท์ ที่ปลายพระบาทของพระพุทธเจ้ามีร่องรอยปูนปั้นรูปหัวเข่าช้างคุกเข่ายอมแพ้
ผนังด้านใต้ เป็นภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์ พระพรหม และทวยเทพตามเสด็จมาส่ง ปัจจุบันภาพพิมพ์ที่ถอดจากภาพปูนปั้นนี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหง
ผนังด้านตะวันตก เป็นภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าประทานเทศนาโปรดพระบิดากับกษัตริย์ศากยวงศ์ ขณะทรงสั่งสอนทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ เป็นรูปรัศมีเปลวไฟล้อมรอบพระพุทธองค์ และมีรูปบรรดาพระญาติแวดล้อมอยู่ภายนอกรูปรัศมีนั้น
ภาพปูนปั้นเหล่านี้แสดงถึงลักษณะศิลปกรรมสมัยสุโขทัยที่เจริญสูงสุด หรือที่เรียกว่า ยุคทองของศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งมีอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 20

จุดสนใจภายในวัดตระพังทองหลาง

 คือ มณฑปและรูปปูนปั้นซึ่งเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ


ปัจจุบันวัดตระพังทองหลางเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เนื่องด้วยตั้งอยู่ในพื้นที่ๆ ผู้คนไม่ค่อยได้ผ่านมากันมากนักเนื่องจากอยู่ในซอยตัน ทางวัดจึงขาดปัจจัยบ้างในการบำรุงรักษาวัด นักท่องเที่ยวและผู้ที่มาไหว้พระ สามารถร่วมบุญได้ที่ท่านเจ้าอาวาส เพื่อช่วยบำรุงรักษาวัดให้คงอยู่กันต่อไป


วัดเชตุพน


ประวัติ
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด มีเพียง จารึกวัดสรศักดิ์ ซึ่งอยู่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (สุโขทัยตอนปลาย) ที่กล่าวถึงวัดเชตุพน ความว่าเมื่อครั้งสร้างวัดสรศักดิ์เสร็จสิ้นทางวัดได้นิมนต์พระจากวัดเชตุพนมาร่วมฉลองการสร้างวัด นอกจากนี้ยังพบหลักศิลาจารึกที่วัดเชตุพนซึ่งเป็นจารึกในปี พ.ศ.2057 กล่าวว่าเจ้าธรรมรังสีได้สร้างพระพุทธรูปเพื่อประดิษฐานภายในวัด


วัดเชตุพน เป็นวัดโบราณขนาดใหญ่ ตั้งอยู่นอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย รอบวัดมี อุทกสีมา (คูน้ำ) ล้อมรอบเพื่อแสดง เขตพุทธาวาส ซึ่งเป็นแบบแผนของวัดในอาณาจักรสุโขทัย


ศาสนสถานสำคัญที่ปรากฏอยู่ประกอบด้วย มณฑปจัตุรมุข ทรงสี่เหลี่ยม แต่ละด้านประดิษฐานด้วย พระพุทธรูปสี่อิริยาบท ซึ่งประกบด้วย อิริยาบถยืน เดิน (ลีลา) นั่ง นอน (ไสยาสน์) ส่วนแกนกลางมณฑปนี้ใช้รองรับโครงสร้างของหลังคา โดยมณฑปนี้ยังมีอยู่ที่วัดอื่นๆ อีกเช่น วัดพระพายหลวง และวัดพระสี่อิริยาบถ


ด้านหลังมณฑปจัตุรมุขมี เจดีย์ทรงวิมาน ย่อมุมไม้ยี่สิบ มีเสาก่อซ้อนกันเป็นหลังคา ที่ผนังมีลายเขียนเส้นสีดำลวดลายพรรณพฤกษา ล้อมรอบด้วย กำแพงแก้ว ซึ่งเป็นลูกกรงสร้างจากหินชนวน เป็นแท่งขนาดใหญ่และหนา มีการสกัดทำเป็นรูเดือยเพื่อรับซี่งลูกกรง







นอกกำแพงเมืองด้านตะวันออก


วัดช้างล้อม

ประวัติ

นักวิชาการสันนิษฐานว่า วัดช้างล้อมนี้น่าจะเป็นวัดเดียวกันกับที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่กล่าวไว้ว่าในปี พ.ศ. 1829 พ่อขุนรามคำแหงทรงให้ขุดเอาพระธาตุขึ้นมาทำบูชา และฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัยก่อนก่อพระเจดีย์ทับลงไป

วัดช้างล้อม เป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นประธานของวัด รอบฐานเจดีย์ ประดับด้วย ปูนปั้นเป็นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว ด้านหน้ามีฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และยังมีฐานกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ วัดตระพังทองหลาง


ศิลปกรรมที่สำคัญคือ มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ ผนังด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนาโปรดพระพุทธบิดากับกษัตริย์ศากยราช และตอนเสด็จโปรดนางพิมพา นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของสุโขทัย